จัดการข้อมูลเมนูด้านข้างอย่างไรดี?


เมนูด้านข้าง คือ เมนูซึ่งแสดงผลด้านซ้ายของส่วนแสดงเนื้อหาเว็บไซต์  ช่วยแสดงผลหมวดหมู่สินค้า/บริการหลักของเว็บไซต์หรือกลุ่มบทความต่าง ๆ ให้เห็นเด่นชัด หาง่าย  ด้วยรูปแบบการแสดงผลข้อมูลที่เรียงลงมาในแนวตั้ง ทำให้สามารถแสดงผลเมนูได้ค่อนข้างมาก 

อีกทั้งแถบเมนูด้านข้างยังมีการแสดงผล Widget เสริมต่าง ๆ เป็นลูกเล่นพิเศษที่พื้นที่เมนูด้านข้าง เช่น กล่องค้นหา, แบนเนอร์โฆษณา, ติดตั้งโค้ด HTML ฯลฯ  

 

ตัวอย่างการแสดงผลตำแหน่งของเมนูด้านข้าง ในระบบเว็บไซต์พร้อมใช้ VelaEasy

 

และสำหรับเว็บไซต์พร้อมใช้ VelaEasy รูปแบบ Smart Theme ซึ่งเน้นการแสดงผลข้อมูลแบบ Full Screen เต็มพื้นที่ เมนูด้านข้างอาจจะถูกซ่อนในครั้งแรก แต่หากเว็บมาสเตอร์ต้องการใช้แสดงผลข้อมูล ก็สามารถคลิกเปิดแสดงผลได้ตามปกติ (เว็บไซต์รูปแบบ Theme ก็สามารถเปิด/ปิดการแสดงผลพื้นที่ด้านข้างได้เช่นกันค่ะ

 

 

ประโยชน์ของเมนูด้านข้าง

- สามารถสร้างลิงก์เพื่อแสดงผลเมนูที่สำคัญ หรือหมวดหมู่สินค้าที่ต้องการให้เป็นจุดเด่น

- สามารถสร้างลิงก์ในรูปแบบ เมนูระดับ 2 เพื่อแสดงผลหมวดหมู่ข้อมูลย่อยได้

- สามารถใส่ Code เชื่อมต่อกับ Social Media ต่าง ๆ หรือแสดงแบนเนอร์ด้านข้างเพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ข้อมูล

 

เนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับแสดงผลที่ตำแหน่งเมนูด้านข้าง

นิยมแสดงผลหมวดหมู่ของสินค้าหรือกลุ่มบทความ ซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์ในส่วนเมนูย่อย เพราะสามารถแสดงผลข้อมูลหลาย ๆ เมนูได้ และยังทำให้การแสดงผลดูง่าย สบายตา
 

 

นอกจากนี้ บริเวณเมนูด้านข้าง ยังมีเมนู "เพิ่ม Widget" ซึ่งมีให้เลือกใช้ตกแต่งเว็บไซต์หลากหลายแบบ เช่น อัพโหลดภาพแบนเนอร์และสร้างลิงก์, โค้ด HTML, ช่องค้นหาสินค้า/บทความ, รวมถึงแสดงแบบฟอร์มติดต่อกลับ แบบฟอร์รับข่าวสาร หรือแบบฟอร์มสมาชิกสำหรับเว็บไซต์ที่มีระบบ Member Login ได้อีกด้วยค่ะ 

 

องค์ประกอบของเมนูด้านข้างที่ดี ควรคำนึงถึง

1. จำนวนของเมนูและข้อมูล ที่จะแสดงผลที่เมนูย่อย

นอกจากการเน้นความสำคัญในการเลือกกลุ่มสินค้าและบริการมาแสดงผลที่เมนูด้านข้าง เว็บมาสเตอร์ควรดูถึงความเหมาะสมของจำนวนของเมนู และสิ่งที่นำมาตกแต่ง แม้ว่าเมนูด้านข้างจะสามารถแสดงเมนูลงมาได้หลายสิบเมนู แต่ถ้าหากมีเมนูหรือ Widget จำนวนมากเกินไป อาจส่งผลให้หน้าเว็บไซต์ยาวลงมามาก ไม่สะดวกในการดูข้อมูลได้

นอกจากนี้อาจทำให้การแสดงผลดูไม่สวยงามในบางหน้าที่มีเนื้อหาน้อย ดังภาพตัวอย่าง 

 

2. ระมัดระวังการนำโค้ดพิเศษมาตกแต่งในส่วน Widget หรือพื้นที่แบนเนอร์ด้านข้าง

ทุกวันนี้ มีโค้ดลูกเล่นมากมายที่จะช่วยตกแต่งเว็บไซต์ให้ดูสวยงามน่าสนใจได้นะคะ ไม่ว่าจะเป็น โค้ดจาก Social Media เช่น Facebook Page Plugin ที่จะเป็นอีกช่องทางในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าบนโลกออนไลน์ หรือโค้ดที่คุ้นชินตาหลาย ๆ ท่าน อย่าง โค้ดพยากรณ์อากาศ ,โค้ดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ฯลฯ ซึ่งเว็บมาสเตอร์สามารถนำมาติดตั้งบนเว็บไซต์บริเวณ Widget พื้นที่ด้านข้าง ได้อย่างง่ายดาย

ดูวิธีเพิ่ม Widget ส่วนเสริม ที่เมนูด้านข้าง คลิกที่นี่
 

แต่อย่าติดตั้งโค้ดกันเพลินจนลืมคำนึงถึง ความจำเป็นในการใช้งานกับเว็บไซต์ของเรา ความเหมาะสมในการแสดงผล และความสะดวกของผู้เข้าชม เป็นหลักนะคะ เพราะมีผลทั้งต่อความสวยงาม ความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเสถียรภาพของเว็บไซต์ของคุณด้วยค่ะ  เนื่องจากการเปิดหน้าเว็บไซต์จะขึ้นอยู่กับความเร็วและเสถียรภาพของระบบของเว็บไซต์ที่คุณนำ code มาติดตั้งด้วย เช่น หาก server ของ code ที่นำมาติดล่ม หรือโหลดช้า จะทำให้เว็บของคุณเปิดไม่ได้หรือโหลดช้าไปด้วยค่ะ

 

3. สามารถสลับตำแหน่ง Sidebar Widget กับเมนูด้านข้างได้

เพื่อเพิ่มความสวย เด่นสะดุดตา ให้กับหน้าเว็บไซต์ของทุกท่าน  สามารถลากย้ายสลับตำแหน่ง Sidebar Widget กับเมนูด้านข้าง(ทั้งกลุ่ม) ให้เลือกแสดงผลอันใดอันหนึ่งก่อน - หลัง ได้ตามต้องการ

เพียงคลิก Widget ที่ต้องการค้างไว้  จากนั้นลากและปล่อย Widget ดังกล่าวลงในตำแหน่งเหนือเมนูด้านข้าง เท่านี้ Widget และเมนูด้านข้างก็จะแสดงผลแบบสลับตำแหน่งกันแล้วค่ะ

 

ดูวิธีสลับตำแหน่ง Sidebar Widget กับเมนูด้านข้าง เพิ่มเติม คลิกที่นี่


ทบทวนกันอีกครั้งนะคะว่า การตกแต่งเมนูย่อยด้านข้างควรคำนึงถึง จำนวนของเมนูและข้อมูล, การใส่รูปภาพ และโค้ดตกแต่งเมนูย่อย ซึ่งหากเลือกใช้อย่างเหมาะสม ในระดับที่พอดีๆ ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป เว็บไซต์ของคุณก็จะสวย อ่านง่าย สบายตา ผู้เข้ามาชมเว็บไซต์ก็อยากจะคลิกชมสินค้าและข้อมูลบนเว็บไซต์นานๆ อย่างแน่นอนค่ะ




VelaEasy Tips

เตรียมข้อมูลทำเว็บไซต์อย่างไรดี
เริ่มต้นใส่ข้อมูลในระบบเว็บไซต์พร้อมใช้ VelaEasy
แนะนำขนาดรูปภาพสำหรับใส่ในเว็บไซต์ VelaEasy
วิธีใส่รูปภาพในเนื้อหาของเว็บไซต์
วิธีอัพโหลดไฟล์เอกสารและสร้างลิงก์สำหรับดาวน์โหลด
วิธีสร้างลิงก์ให้กับข้อความและรูปภาพ
เทคนิคการจัดการเมนูด้านบนที่สวยและดี
เลือกใช้สีในหน้าเว็บไซต์อย่างไรให้เหมาะสม?
วิธีใส่คีย์เวิร์ดในเว็บไซต์เพื่อให้ Google จัดเว็บไซต์ในอันดับที่ดี
4 วิธี เคลียร์เนื้อหายาวๆ ในเว็บไซต์ ให้น่าอ่าน
5 องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี
5 สิ่งที่ต้องมี บนโฮมเพจเว็บไซต์
เทคนิคการสร้างลิงก์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ด้วยเครื่องมือ Anchor
แนะนำวิธีหากลืมรหัสผ่านเข้าสู่หน้าแก้ไขเว็บไซต์สำเร็จรูป VelaEasy
วิธีติดตั้งโค้ดนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
การติดตั้ง Facebook Page Plugin (Like Box) ในระบบ VelaEasy
วิธีแสดงผล VDO ในเว็บไซต์ VelaEasy
แนะนำโปรแกรมตกแต่งและใส่กรอบรูปภาพฟรี! ใช้ง่าย นำไปแต่งเว็บให้โดดเด่นได้เลย
ใช้ระบบ Chat บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยถามตอบทุกข้อสงสัย พร้อมเพิ่มโอกาสปิดการขายได้มากกว่า
โชว์เส้นทาง สร้างแผนที่บนเว็บไซต์ง่ายๆ ใช้ Google Map
Google Verification (วิธียืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับทาง Google)
วิธีการสร้างและยืนยัน Sitemap ของเว็บไซต์ระบบ VelaEasy กับทาง Google
วิธีติดตั้งโค้ด Google Analytics ในระบบ VelaEasy
ติดตั้งเครืองมือแปลภาษา Google Translate บนหน้าเว็บไซต์
ไขข้อข้องใจ "การทำเว็บไซต์ภาษาที่สอง"
สร้างฐานลูกค้าออนไลน์อย่างง่ายแต่มั่นคง ด้วยระบบสมาชิก
เทคนิคสร้างลิงก์และปุ่มโทรบนเว็บไซต์ เพื่อการติดต่อที่ง่าย แค่คลิก แล้วโทร
วิธีเพิ่มลิงก์ Add LINE และปุ่ม LINE it! บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยผู้ชมแชทง่าย แชร์ข้อมูลได้สะดวก
เทคนิคแสดงผลแบนเนอร์กิจกรรม ด้วยรูปภาพที่คุณออกแบบเอง
วิธีการแก้ปัญหา hotmail ไม่ได้รับอีเมลแจ้งรหัสผ่าน article